พระพุทธไสยา
เก้ท |
เป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน หรือ ปางไสยาสน์ ศิลปะสุโขทัย ประดิษฐาน ณ มุขหลัง วิหารพระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้อัญเชิญมาจาก วัดพระพายหลวง อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ที่ด้านหลังพระพุทธไสยามีจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง พุทธประวัติ ตอน เสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยมีพระสงฆ์จำนวนมากมานมัสการพระพุทธเจ้า และ มีต้นสาละโน้มกิ่งมาหาพระองค์ ปัจจุบัน จะเปิดวิหารให้เข้าชมเฉพาะวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และ วันสำคัญๆเท่านั้น ปางปรินิพพาน เป็นชื่อเรียกของพระพุทธรูปลักษณะบรรทม หรือ นอน ตะแคงเบื้องขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย หรือ หมอน พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาวางหงายอยู่ข้างพระเขนย พระบาทซ้ายทับซ้อนพระบาทขวา หรือ เรียกโดยทั่วไปว่าพระนอน หรือพระไสยาสน์ เช่นเดียวกับปางโปรดอสุรินทราหู และปางทรงพระสุบินหรือ สนับสนุนโดยpsthai888 เรียกโดยทั่วไปว่าพระปางไสยาสน์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 1 ปี สำหรับประเทศไทย ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์กุสินารา การถวายพระเพลิงได้จัดขึ้น ณ มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 คือ วันอัฏฐมีบูชา ความแตกต่างระหว่างปางปรินิพพานกับปางไสยาสน์ ดังนี้ ปางโปรดอสุรินทราหู นอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย หรือ หมอน รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ หรือ รักแร้ ลักษณะเดียวกับปางปรินิพพานและปางทรงพระสุบิน หรือเรียกโดยทั่วไปว่าพระปางไสยาสน์ ในสมัยที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดเชตวันมหาวิหารในนครสาวัตถี อสุรินทราหูซึ่งเป็นอสูรอุปราชของท้าวเวปจิตติอสุรบดินทร์ผู้ครองอสูรพิภพ ได้สดับพระเกียรติคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากเหล่าเทวดาทั้งหลาย จึงมีความประสงค์จะฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์ แต่คิดว่าพระพุทธองค์เป็นมนุษย์มีพระวรกายเล็ก ตนเองมีร่างกายใหญ่หากไปเฝ้าก็จะต้องก้มลงมองด้วยความลำบาก เมื่ออสุรินทราหู ไปเข้าเฝ้าสำคัญตัวว่ามีร่างกายใหญ่โตใหญ่กว่าพระพุทธเจ้า จึงไม่ยอมแสดงความอ่อนน้อม พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะลดทิฐิของอสุรินทราหูอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตกว่าอสุรินทราหูอสูร ทรงนอนในลักษณะเสด็จสีหไสยาสน์ พระเศียรหนุนภูเขาต่างพระเขนย พระบาททั้งสองข้างที่วางซ้อนกันอยู่ สูงใหญ่กว่าอสุรินทราหู อสุรินทราหูต้องแหงนคอเพื่อชมพุทธลักษณะ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์พาอสุรินทราหูขึ้นไปยังพรหมโลก บรรดาพรหมทั้งหลายมีร่างกายเล็กกว่าพระพุทธองค์และต่างมองอสุรินทราหูเหมือนประหนึ่งมนุษย์ดูมดปลวกตัวเล็กๆ อสุรินทราหูเกิดความกลัวต้องหลบอยู่ข้างหลังพระพุทธองค์ นับแต่นั้นมาก็ลดทิฐิมานะ อ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์ และเมื่อได้สดับฟังพระธรรมเทศนาจึงเกิดความเลื่อมใส ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งสูงสุดแห่งชีวิต หลายตำราบอกว่าปางปรินิพพาน ต่างจากปางไสยาสน์ตรงที่พระหัตถ์ขวาของพระพุทธองค์จะไม่ทรงชันพระเศียรตั้งขึ้น แต่จะแผ่ราบลงกับพื้น ซึ่งเป็นลักษณะทอดร่างวางขันธ์ดับ มุ่งสู่มหาปรินิพพาน ความเชื่อและคตินิยม พระพุทธรูปปางปรินิพพาน สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า สนับสนุนโดยpsthai888 Link: คลิ๊กที่นี่ |
